วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

GUIDO d'AREZZO



Photobucket
c.995 – C.1050

Photobucket


Guido of Arezzo หรือ Guido Aretinus หรือ Guido da Arezzo หรือ Guido Monaco หรือ Guido d'Arezzo พระสงฆ์นิกายหนึ่งและนักทฤษฎีดนตรีชาวฝรั่งเศสในสมัยกลาง เขาได้เดินทางไปสู่เมือง Arezzo ประเทศอิตาลีเพื่อรับตำแหน่งหัวหน้าบาทหลวงในปี 1025 ในช่วงเวลาที่เขาอาศัยอยู่ในประเทศอิตาลีนั้นเขาได้ศึกษาพัฒนารูปแบบใหม่ในการใช้สัญลักษณ์แทนความหมายทางดนตรี โดยระบบใหม่ที่มาใช้แทนที่ประกอบด้วยตัวอักษรแล้วตัวโน้ตและเขียนลงบนเส้นขนาน 4 เส้นและยังได้เพิ่มเส้นสีเหลืองและแดงอย่างละหนึ่งเส้นในบรรทัด2เส้น (tow-line Staff)



Photobucket


เขาได้แนะนำระบบ Solmization หรือที่ชาวยุโรปและอเมริกาตอนเหนือเรียกกันว่า"Solfeege " หรือ "Aretinian syllables "การออกเสียง Ut, Re, Mi, Fa, Sol และ La ซึ่งการออกเสียงนี้ใช้ชื่อของตัวโน้ต 6 ตัวคือ C, D, E, F, G และ A รวมถึง

Hexachord (กลุ่มของโน้ต 6 ตัว) หลังจากนั้นก็กลายมาเป็น

Octave Scale ( กลุ่มของโน้ต 8 ตัว เช่น C, D, E, F, G, A, B และ C ) แทนที่ Hexachord ซึ่งได้เพิ่มพยางค์การออกเสียง คือ Ti หรือ Si และในที่สุด Do ได้ถูกนำมาใช้แทนที่ Ut งานเกี่ยวกับทฤษฎีดนตรี ได้แก่ Micrologus de disciplina artis musicae (c. 1025) ได้อธิเกี่ยวกับดนตรีในช่วงเวลาของเขา และสิงที่สำคัญคือ ที่มาของ organum (เพลงร้องที่ถูกพัฒนาในยุคกลาง)
Guido เขาไม่ใช่นักประพันธ์แต่สิ่งที่เขาเขียนและได้ตีพิมพ์ออกมาในช่วงแรกนั้นเกี่ยวกับทฤษฎีดนตรีที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมาก ซึ่งความสำเร็จของเขาทำให้เขาได้รับการบันทึกผลงานของเขาไว้เป็นต้นฉบับ ก่อนหน้าที่เขาได้ประดิษฐ์การบันทึกโน้ตของเขานักร้องส่วนใหญ่ใช้การท่องจำเนื้อของบทสวดทั้งหมด และต้องสอนบทสวดให้กับนักร้องรุ่นหลังๆ แต่เมื่อใช้การท่องจำ เมื่อจำบทสวดผิดพลาด สอนต่อผิดพลาด เพลงสวดก็จะบิดเบือนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการบันทึกโน้ตหรือสัญลักษณ์ทางดนตรีของเขานั้นทำให้เพลง หรือ บทสวดถูกต้องและไม่เปลี่ยนแปลง
กำเนิดการออกเสียงของ Guido’s syllables ได้แก่ Ut , Re , Mi , Fa , Sol และ La มากจาก 6 พยางค์แรกของบทสวดสรรเสริญแก่ St. John the Baptist คือ


Ut queant laxis,
Resonare fibris,
Mira gestorum,
Famuli tuorum,
Solve polluti,
Labii reatum, Sancte Joannes!


ในบทสวดนี้ประโยคแรกได้เริ่มด้วยตัว C และประโยคต่อมาได้ใช้บันไดเสียงที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆจากประโยคก่อนหน้า นักร้องชาวฝรั่งเศษยังคงใช้ Ut แต่ในประเทศอื่นๆนิยมใช้สัญลักษณ์ Do มาแทนที่ การใช้ Guido’s system นั่นทำให้เขาสามารถสอนนักร้องของเขาได้ง่ายขึ้นและนักร้องสามารถเรียนบทเพลงสวดบทใหม่ได้รวดเร็วมากขึ้น


Photobucket
Photobucket

Guidonian Hand
เป็นเครื่องมือในการสอนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเครื่องหมายที่ระบุในแต่ละนิ้วจะมีโน้ตที่แตกต่างกันไป ในการสอนให้แก่นักร้องนั้นก็จะใช้นิ้วที่แตกต่างกันในแต่ละบทเพลง
ในปี 1028 Guidoได้แสดงวิธีการสอนโดยใช้ “Guidonian Hand” แด่พระสันตะปาปาที่19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น